วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ทอดผ้าป่าสมัคคี สร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิริยากร (หลวงพ่อตัด ปวโร) วัดชายนา

ขอเรียนเชิญ
ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสมัคคี
สร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิริยากร (หลวงพ่อตัด ปวโร) วัดชายนา
ตำบลบ้านในดง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
วงเงินก่อสร้างประมาณ ๓ ล้านบาท
ในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๗

หลวงพ่อตัด ปวโร เกิดเมื่อปี พ.ศ ๒๔๗๕ มรณภาพปี พ.ศ ๒๕๕๒ รวามอายุ ๗๗ ปี  ๑๑ เดือน ๓ วัน ๕๘ พรรษา ท่านเป็นพระสงฆ์สานธรรมยุต ปฏิบัติดีปฏิบัตชอบ มีเมตตาธรรมสูง เคร่งครัดพระธรรมวินัย ดำเนินชีวิตสมถะอย่างยิ่ง หลวงพ่อตัดท่านมีชื่อเสียงในทางิชาอาคมปลุกเสกวัตถุมงคล จนเป็นที่เลี่ยงลือไปทั่วประเทศ ทั้งยังสร้างถาวรวัตถุและอุปถัมภ์บำรุงการศึกษาทั้งทางโลก และทางธรรมมากมาย ด้วยคุณงามความดีของท่าน ท่านจังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เป็นพระครูและเป็นถึงท่านเจ้าคุณ (ราชาคณะ) ตามลำดับ  คณะศิษยานุศิษย์และ อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจึงพร้อมใจกันตั้งกองทุนก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อรักษารวบรวมแหละแสดงร่องรอยผลงานทั้งวัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง รวมทั้งสิ่งของและอัฐบรขารของหลวงพ่อให้ปรากฏยั่งยืนสืบไป

การตั้งกองทุน
ประธาน        กองทุนละ ๑,๐๐๐ บาท
รองประธาน กองทุนละ ๕๐๐ บาท    
กรรมการ      กองทุนละ  ๑๐๐ บาท    
สาธุชนทั่วไป สมทบกองทุนตามจิตศรัทธา

เนื่องจากในวันเดียวกันนี้ วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปี ยังถือเป็นวันคล้ายวันเกิดของ พระครูสารธรรมนิเทศ (พระอาจารย์ทิน) เจ้าอาวาสวัดชายนา องค์ปัจจุบัน ซึ่งพระอาจารย์ทินท่านยังเป็นผู้ริเริ่มฌครงการจัดตั้งกองทุนเพื่อจัดสร้างพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อตัด วัดชายนา

จึงเรียนเชิญพุทธศาสนิกขนทั้งหลาย และผู้มีจิตศรัทธาเป็นเจ้าภาพผ้าป่าสมัคคีในครั้งนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ขออ้างคุณพระรันตรัตน์เป็นฉัตรคุ้ม ขอให้ทุกท่านภิญโญสโมสร นิราศทุกขโศก โรคภัยนานาสถาพร เดียรติขจรรุ่งเรื่อง เฟื้องฟุ้งทั้งหรุงไกล แม้ปรารถนาสิ่งใดดั่งใดใจจิต จงสัมฤทธิ์ด้วยบุญคุณกุศล แม้พาลภัยพ่ายมาจลาจล จงผ่านพ้นประสบสุขทุกท่านเทอญ.

ซองทอดผ้าป่าสมัคคีสร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิริยากร (หลวงพ่อตัด ปวโร) วัดชายนา

ใบทอดผ้าป่าสมัคคีสร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิริยากร (หลวงพ่อตัด ปวโร) วัดชายนา

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา ในวันพฤหัสที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖


วันพฤหัสที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ มีพิธี ขุดหลุมเตรียมงาน
วันพฤหัสที่  ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖  เวลา ๙.00 น. ท่านพระครูวิวิตสมาจาร ( หลวงพ่อผล ) วัดหนองแขม เป็นประธานในพิธี  พร้อมพระสงฆ์ ๙ รูปเจริญพระพุทธมนต์ จากวัดหนองแขม , วัดเขากระจิว , วัดชายนา


พิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา ในวันพฤหัสที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
ซุ้มประตู วัดชายนา




พิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา ในวันพฤหัสที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
ใบประกาศ พิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
พิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา ในวันพฤหัสที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
บรรยากาศ บริเวณทำพิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา





พิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา ในวันพฤหัสที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
พระอาจารย์ทินกำลังตรวจสอบความเรียบร้อยใน พิธียกเสาซุ้มประตู 

พิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา ในวันพฤหัสที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
ท่านพระครูวิวิตสมาจาร ( หลวงพ่อผล ) วัดหนองแขม  เป็นประธานในพิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา

พิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา ในวันพฤหัสที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖

พิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา ในวันพฤหัสที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
ท่านพระครูวิวิตสมาจาร ( หลวงพ่อผล ) วัดหนองแขม  ทำการติดทองที่เสาซุ้มประตู



พิธียกเสาซุ้มประตู วัดชายนา ในวันพฤหัสที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
พระอาจารย์ทิน ทำพิธีลาของไหว้ หลังจากยกเสาซุ้มประตู เป็นที่เรียบร้อย


ใกล้เสร็จแล้ว ซุ้มประตู วัดชายนา ในวันเสาร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๖
ใกล้เสร็จแล้ว ซุ้มประตู วัดชายนา ในวันเสาร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๖


วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์


ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
ภาพถ่ายหลวงพ่อตัด ณ. กุฎิพระพรหมเมธี (ท่านเจ้าคุณสมชาย วรชาโย)
 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี มหาเถรสมาคมจะมีการประกาศรายนามพระเถรานุเถระที่ทำคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองและพระพุทธศาสนาให้ได้รับการเสนอชื่อเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ โดยการเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ประจำปี 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 75 รูป แบ่งเป็นฝ่ายมหานิกาย จำนวน 56 รูป ฝ่ายธรรมยุต จำนวน 19 รูป
ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 2 พ.ย. ว่า สำหรับโควตาสมณศักดิ์ในปีนี้ ประกอบด้วยสมเด็จพระราชาคณะ จำนวน 2 รูป รองสมเด็จพระราชาคณะจำนวน 3 รูป พระราชาคณะชั้นธรรมจำนวน 3 รูป พระราชาคณะชั้นเทพ จำนวน 6 รูป พระราชาคณะชั้นราชจำนวน 15 รูป และพระราชาคณะหรือเจ้าคุณใหม่จำนวน 48 รูป
คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย จำนวน 56 รูป ที่ได้เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ ได้แก่
พระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ มี 2 รูป คือ
  1. พระธรรมวิมลโมลี วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา เป็น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
  2. พระธรรมปริยัติโมลี วัดทินกรนิมิต จ.นนทบุรี เป็น พระธรรมวโรดม
พระราชาคณะชั้นธรรม 2 รูป คือ
  1. พระเทพวิสุทธิเมธี วัดระฆังโฆสิตาราม กทม. เป็น พระธรรมธีรราชมหามุนี
  2. พระเทพคุณาภรณ์ วัดสังเวชวิศยาราม กทม. เป็น พระธรรมสิทธิเวที
พระราชาคณะชั้นเทพ 4 รูป คือ
  1. พระราชปริยัติสุธี วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี เป็น พระเทพสุวรรณโมลี
  2. พระราชพัชราภรณ์ วัดมหาธาตุ จ.เพชรบูรณ์ เป็น พระเทพรัตนกวี
  3. พระราชวรเมธี วัด เทพธิดาราม กทม. เป็น พระเทพวิสุทธิเมธี
  4. พระราชสุธี วัดเทวราชกุญชร กทม. เป็น พระเทพคุณาภรณ์
พระราชาคณะชั้นราช 12 รูป คือ
  1. พระเมธีรัตโนดม วัดคลองเกตุ จ.ลพบุรี เป็น พระราชปริยัติสุธี
  2. พระสรภาณโกศล วัดกาญจนสิงหาสน์ กทม.เป็น พระราชสุทธิญาณ
  3. พระปิฎกคุณาภรณ์ วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน เป็น พระราชปัญญาโมลี
  4. พระโสภณพุทธิธาดา วัดหลวงอรัญญ์ จ.สระแก้ว เป็น พระราชธรรมภาณี
  5. พระวิกรมมุนี วัดคีรีวงศ์ จ.นครสวรรค์ เป็น พระราชพรหมาจารย์
  6. พระศรีรัตนมุนี วัดโพธินิมิตสถิตมหาสีมาราม กทม. เป็น พระราชสุธี
  7. พระเมธีกิตยาภรณ์ วัดคูหาสวรรค์ จ.พัทลุง เป็น พระราชปริยัติมุนี
  8. พระเมธีวราภรณ์ วัดเขาวัง จ.ราชบุรี เป็น พระราชวรเมธี
  9. พระสุนทรปริยัติเมธี วัดศรีสระแก้ว จ.หนองบัวลำภู เป็น พระราชรัตโนบล
  10. พระสุขุมวาทวาที วัดป่าพุทธมงคล จ.กาฬสินธุ์ เป็น พระราชศีลโสภิต
  11. พระพิศาลพัฒโนดม วัดยาง กทม.เป็น พระราชพัฒโนดม
  12. พระสุนทรธรรมสมาจาร วัดไพชยนต์พลเสพย์ จ.สมุทรปราการ เป็น พระราชมงคลมุนี
สำหรับพระราชาคณะชั้นสามัญ 36 รูป ประกอบด้วย
  1. พระมหาขวัญรัก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เป็น พระศรีรัตนมุนี
  2. พระมหาชำนาญ วัดกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็น พระรัตนเวที
  3. พระครูมงคลเขมคุณ วัดศรีสุมังคล์ จ.หนองคาย เป็น พระสุนทรธรรมธาดา
  4. พระครูสุมนวุฒิธรรม จ.เลย เป็น พระไพโรจน์ธรรมาภรณ์
  5. พระครูวิชานวรวุฒิ วัดสังฆาราม จ.สุโขทัย เป็น พระสุขวโรทัย
  6. พระครูอนุศาสน์ธรรมกิจ จ.แม่ฮ่องสอน เป็น พระญาณวีรากร
  7. พระครูกุมภวาปีคณารักษ์ วัดศรีนคราราม จ.อุดรธานี เป็น พระโสภณพุทธิธาดา
  8. พระครูอุดมธรรมโชติ วัดทองดีประชาราม จ.นราธิวาส เป็น พระโสภณคุณาธาร
  9. พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ วัดบางบ่อ จ.สมุทรปราการ เป็น พระมงคลวรากร
  10. พระมหาบุญทัน วัดทุ่งสว่าง จ.ศรีสะเกษ เป็น พระศรีธรรมาภรณ์
  11. พระมหาวิสูติ วัดโค้งสนามเป้า จ.จันทบุรี เป็น พระศรีศาสนโมลี
  12. พระมหาสวี วัดมงคลทับคล้อ จ.พิจิตร เป็น พระปิฎกคุณาภรณ์
  13. พระครูศรีปริยัติธำรง วัดหนองเป็ด จ.อุบลราชธานี เป็น พระสุนทรปริยัติเมธี
  14. พระครูศรีปริยัติสาทร วัดโพธิ์ชัยศรี จ.อุดรธานี เป็น พระภาวนาวิมล
  15. พระครูสุธีปริยัตโยดม วัดชัยศรี จ.ขอนแก่น เป็น พระอุดมปัญญาภรณ์
  16. พระครูประสิทธิ์รัตนคุณ วัดชุมพลนิกายาราม จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น พระญาณรังสี
  17. พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง จ.นครปฐม เป็น พระพิมลสมณคุณ
  18. พระครูสิริชัยคุณ วัดสะเมิง จ.เชียงใหม่ เป็น พระศีลวัตรวิมล
  19. พระครูสุนันท์คุณาภรณ์ วัดหนองโว้ง จ.สุโขทัย เป็น พระพิศาลพัฒโนดม
  20. พระครูไพศาลพัฒนายุต วัดมหาธาตุวชิรมงคล จ.กระบี่ เป็น พระวิสิฐพัฒนวิธาน
  21. พระครูนนทสารวิสิทธิ์ วัดภคินีนาถ กทม. เป็น พระมงคลสิทธิญาณ
  22. พระครูภัทรกิจโสภณ วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น พระพุทไธศวรรย์วรคุณ
  23. พระครูปริยัติกิตติคุณ วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา เป็น พระสุนทรกิตตคุณ
  24. พระมหาสมจินต์ วัดปากน้ำ กทม. เป็น พระศรีคัมภีรญาณ
  25. พระมหาชลอ วัดชนะสงคราม กทม. เป็น พระสุธีปริยัติธาดา
  26. พระมหาสุทัศน์ วัดโมลีโลกยาราม กทม. เป็น พระเมธีวราภรณ์
  27. พระมหาขวัญชัย วัดหนัง กทม. เป็น พระวิเชียรโมลี
  28. พระมหาบุญเทียม วัดพิชยญาติการาม กทม. เป็น พระศรีสุธรรมมุนี
  29. พระมหาวันชัย วัดบึง จ.นครราชสีมา เป็น พระเมธีรัตโนดม
  30. พระมหาทองคำ วัดเบญจมบพิตรฯ กทม. เป็น พระปริยัติธรรมธาดา
  31. พระครูปลัดสุวัฒนพรหมวุฒิคุณ วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม. เป็น พระสรภาณโกศล
  32. พระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ วัดมหาธาตุ กทม. เป็น พระสิทธินิติธาดา
  33. พระมหาชวลิต วัดราชสิงขร กทม. เป็น พระปริยัติธรรมสุนทร
  34. พระครูสีลวัฒนาภิรม วัดปัญญานันทาราม จ.ปทุมธานี เป็น พระปัญญานันทมุนี
  35. พระครูอดุลพิทยาภรณ์ วัดบางประทุนนอก กทม. เป็น พระมงคลวราภรณ์
  36. พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ วัดพิพิธประสาทสุนทร จ.ฉะเชิงเทรา เป็น พระพุทธรังษี
ส่วนการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะซึ่งสังกัด คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ที่ว่างลง 2 ตำแหน่ง เนื่องจากการมรณภาพของสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดมกุฏกษัตริยาราม และสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธฯนั้น ปรากฏว่าคณะกรรมการฝ่ายบริหารฝ่ายธรรมยุต ที่มีพระพรหมมุนี ผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต วัดบวรนิเวศวิหารเป็นประธาน ไม่ได้มีการเสนอรายนามรองสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง เลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะแทนโควตาที่ว่าง ทั้งนี้เนื่องจากยังไม่ได้มีการกำหนดพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระราชาคณะ 2 รูป ที่ได้มรณภาพลง ดังนั้นจึงไม่มีการนำเสนอรายชื่อรองสมเด็จพระราชาคณะขึ้นเป็นสมเด็จพระราชา คณะให้กับคณะกรรมการมหาเถรสมาคมพิจารณา จึงมีเพียงการเลื่อนและตั้งรองสมเด็จพระราชาคณะลงไปจนถึงพระราชาคณะ จำนวน 19 รูปเท่านั้น ดังนี้
คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต จำนวน 19 รูป ที่ได้เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ มีพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ หรือรอง

สมเด็จพระราชาคณะ 1 รูป คือ
1. พระธรรมธัชมุนี วัดธรรมบูชา จ.สุราษฎร์ธานี เป็น พระสุธรรมาธิบดี

พระราชาคณะชั้นธรรม 1 รูป คือ
1. พระเทพปัญญามุนี วัดปทุมวนาราม กทม. เป็นพระธรรมธัชมุนี
    พระราชาคณะชั้นเทพ 2 รูป คือ
    1. พระราชสารเวที วัดพระศรีมหาธาตุ กทม. เป็นพระเทพวราลังการ
    2. พระราชสังวรญาณ วัดอนาลโยทิพยาราม จ.พะเยา เป็นพระเทพวิสุทธิญาณ (วิ.)
      พระราชาคณะชั้นราช 3 รูป คือ
      1. พระปัญญาวิสุทธิโมลี วัดโสมนัส ราชวรวิหาร กทม. เป็นพระราชศีลโสภณ
      2. พระอุดมศีลคุณ วัดบุปผาราม กทม. เป็นพระราชวรญาณ
      3. พระสุทธิสารเมธี วัดสัมพันธวงศ์ เป็นพระราชสารเวที
        พระราชาคณะชั้นสามัญ 12 รูป ประกอบด้วย
        1. พระครูอดุลธรรมาภิวัฒน์ วัดราษฎร์โยธี จ.พังงา เป็น พระปัญญาวิสุทธิคุณ
        2. พระครูจิตรการโกวิท วัดสุวรรณจินดา จ.ปทุมธานี เป็น พระวิมลญาณเถร
        3. พระมหาสมเกียรติ วัดกลาง จ.ลพบุรี เป็น พระกิตติญาณเมธี
        4. พระครูวินิวรกิจพิมล วัดสุปัฏนาราม จ.อุบลราชธานี เป็น พระวิบูลธรรมาภรณ์
        5. พระมหาอาชว์ วัดตรีทศเทพ กทม.เป็น พระชินวงศเวที
        6. พระครูปลัดสุวัฒนปัญญาคุณ วัดราชผาติการาม กทม.เป็น พระปริยัติสารเมธี
        7. พระครูโสภณศาสนกิจ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. เป็น พระสุทธิสารเมธี
        8. พระครูสุภัทรวิหารกิจ วัดบรมนิวาส กทม.เป็น พระปริยัติสารคุณ
        9. พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม กทม.เป็น พระพิศิษฏ์ธรรมภาณ
        10. พระครูปลัดวราวุฒิ วัดสัมมาชัญญาวาส กทม. เป็น พระวิบูลธรรมาภาณ
        11. พระครูบวรกิจโกศล  วัดชายนา จ.เพชรบุรี เป็น พระพุทธวิริยากร

        12. พระครูปลัดสุวัฒนเมตตาคุณ วัดป่ามัชฌิมาวาส จ.กาฬสินธุ์ เป็น พระโพธิญาณมุนี


        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        ก่อนที่จะตั้งขบวนเข้าไปในพระอุโบสถ ทางซุ้มประตู(ซุ้มแห่งตำนานของเด็กเทพฯ) พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณพระพุทธวิริยากร(ตัด ปวโร)นั่งรอพิธี บริเวณชั้นล่างของตึกแม้นศึกษาสถาน ของโรงเรียนเทพศิิรินทร์ ตึกที่มีศิลปะแบบตะัวันตกที่สวยงามมาก
        

        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        พระพรหมเมธี (สมชาย วรชาโย)กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เป็นองค์ควบคุมงานในครั้งนี้
        ปฏิสันฐานกับหลวงพ่อตัด  "มีอะไรมาแจกญาติโยมหรือเปล่าหลวงพ่อ"
        

          
        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        ขณะที่หลวงพ่อเดินจากตึกแม้นศึกษาสถานในโรงเรียนเทพศิรินทร์ ผ่านทางซุ้มประตูแห่งตำนานของเด็กเทพฯ เพื่อไปยังพระอุโบสถวัดเทพศิิรินทร์ นำหน้าด้วยพัดยศ พระพุทธวิริยากร เป็นประเพณีปฎิบัติที่ พัดยศจะนำหน้าพระสงฆ์
        


        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        ภาพบริเวณทางเดินด้านหน้า เมื่อเข้ามาสู่เขตวัดเทพศิรินทร์ ทางเดินหน้าพระอุโบสถ มีประชาชนมาร่วมงานแสดงมุทิตาสักการะ 
        
         
         ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์



        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        พระพุทธวิริยากร จุดธูปเทียนสักการะพระประธานในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร พระอารามหลวงที่ รัชกาลที่ ๕
        
        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        พระพุทธวิริยากร จุดธูปเทียนสักการะพระประธานในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร พระอารามหลวงที่ รัชกาลที่ ๕
        


        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        ภายในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นพระอุโบสถที่มีเสาเรียงรอบพระอุโบสถมากที่สุดในประเทศไทย ตอนเป็นเณรเคยเดินนับกับเพื่อนเณรด้วยกัน บนเพดานพระอุโบสถมีความพิเศษคือเป็น งานปูนปั็นเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงครับ มองเห็นชัดเจน พระอุโบสถใหญ่มาก องค์หลวงพ่อพระประธานเคยแสดงปาฎิหาริย์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดที่สถานรถไฟหัวลำโพงแต่พลาดเป้ามาตกที่หน้าพระอุโบสถ และตึกแ้ม้น ในส่วนที่ตกที่วัดไม่ระเบิด แต่ที่โรงเรียนราบไปหมด ปัจจุบันลูกระเบิดดังกล่าวยังจัดแสดงไว้ที่ตึกพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ครับ
        ในภาพเป็นประชาชนที่เข้ามาร่วมงานและพัดยศที่มองเห็นไกลๆ
        
        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ อ่านสัญญาบัตรตราตั้งพระราชาคณะ
        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์

        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ และหลวงพ่อตัด
        
        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        พระธรรมวรเมธี วัดราชบพิธ กับหลวงพ่อตัด
        
        พระศาสนโสภณ กับ หลวงพ่อตัด



        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        ภาพพระพุทธวิริยากร(หลวงพ่อตัด ปวโร) ภายในพระอุโบสถ เบื้องหลังคือพระประธานที่ศักดิ์สิทธิ์และสวยงาม ความพิเศษของพระพุทธประธานของที่นี่คือ ประดิษฐานในซุ้มเรือนแก้ว สูงกว่าพระประธานโดยทั่วไป เป็นลักษณะเฉพาะที่จะเห็นในงานสร้างต่างๆ ในสมัย รัชกาลที่ ๕ ซึ่งจะมีแนวความคิดที่แปลกจากเดิมไป ถือเป็นมุมมองใหม่ๆ หลายๆอย่างในประเทศแม้กระทั้งในพระพุทธศาสนาเอง
        
        ภาพหลวงพ่อตัด วันรับมอบพัดยศและตราตั้ง ในงานมุทิตาสักการะ ที่วัดเทพศิรินทร์
        พระธรรมวิสุทธิกวี วัดโสมนัสวิหาร  กับหลวงพ่อตัด
        

        ขอบคุณข้อมูลจาก พี่อชิตะ , พี่เก๋ ลลย และ คุณวีระวงศ์ (ภาพถ่าย)จากเวปลานธรรม 

        วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

        ชีวประวัติ พระครูสารธรรมนิเทศ ( พระอาจารย์ทิน วรจิตฺโต) วัดชายนา จ.เพชรบุรี

        
        พระครูสารธรรมนิเทศ  ( พระอาจารย์ทิน วรจตฺโต) วัดชายนา จ.เพชรบุรี
        พระครูสารธรรมนิเทศ

        ชีวประวัติ พระครูสารธรรมนิเทศ  ( พระอาจารย์ทิน วรจิตฺโต ) วัดชายนา จ.เพชรบุรี  
         
        นามเดิมของท่านชื่อนายสุทิน นามสกุล บริบูรณ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ปีพ.ศ. ๒๕๐๖ ตรงกับปีขาล  สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ตำบลในดง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 
         - บิดาท่านชื่อ นายเทียม บริบูรณ์
         - มารดาท่านชื่อนางแจ้ง ชุบหอมจิตร์



        พระอาจาร์ยทินท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ เมื่อวันที่  วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๒๖ ณ วัดชายนา โดยมี พระครูบวรกิจโกศล (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์

            ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า วรจิตฺโต และท่านได้จำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อตัดที่วัดชายนา และศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ,พระธรรมวินัย , และทาง วิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงพ่อตัด พระอาจารย์ของท่าน

        - วันที่   ๑ พฤษภาคม  ๒๕๔๗  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดชายนา  
        - วันที่  ๕  ธันวาคม ๒๕๔๗ สอบได้นักธรรมตรี ได้นาม พระครูสารธรรมนิเทศ 
        - วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดชายนาอย่างเป็นทางการโดย พระเทพเมธาภรณ์เป็นผู้มอบตราตั้ง
        
        พระครูสารธรรมนิเทศ  ( พระอาจารย์ทิน วรจตฺโต) วัดชายนา จ.เพชรบุรี
        พระเทพเมธาภรณ์ ให้โอวาทธรรมแก่พระครูสารธรรมนิเทศ ผู้รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาส

        
        ตราตั้ง พระครูสารธรรมนิเทศ  ( พระอาจารย์ทิน วรจตฺโต) วัดชายนา จ.เพชรบุรี
        ตราตั้งเจ้าอาวาสวัดชายนา

        ผลงานด้านพัฒนา และการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ช่วยเหลือสังคม
        พระอาจารย์ทินได้ถือวัตรปฏิบัติตามพระอาจาร์ย (หลวงพ่อตัด ปวโร) พร้อมกับสานต่องานทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง ท่านเป็นผู้มีเมตตาสูง และไม่ยึดติดกับลาภสักการะ ปัจจัยที่ได้มาจากการทำบุญ กฐิน ผ้าป่า วัตถุมงคล หรือจากญาติโยม ผู้มีจิตศรัทธา ท่านจะนำไปสร้างถาวรวัตถุเสนาสนะภายในและ ท่านยังบริจาคทรัพย์เพื่อสังคมและชุมชน อันมีโรงเรียน หมู่บ้าน วัดทั่วไป หรือแม้กระทั่งหน่วยงานของราชการ สถานพยาบาล ถ้ามีผู้มาร้องขอท่าน

        ทางด้านเพื่อสังคมและส่วนรวมนั้นมีคร่าวๆดังนี้
        - ตั้งมูลนิธิสารธรรมนิเทศ เพื่อเป็นทุนการศึกษาของเด็กนักเรียน โรงเรียนบ้านในดง-
        -
        -

        ชีวประวัติ พระพุทธวิริยากร ( หลวงพ่อตัด ปวโร ) วัดชายนา จ.เพชรบุรี

        
        พระพุทธวิริยากร ( หลวงพ่อตัด ปวโร ) วัดชายนา จ.เพชรบุรี
        พระพุทธวิริยากร (หลวงพ่อตัด ปวโร) วัดชายนา จังหวัดเพชรบุรี
        

        ชีวประวัติ พระพุทธวิริยากร
        ( หลวงพ่อตัด ปวโร ) วัดชายนา จ.เพชรบุรี
        หลวงพ่อตัด นามเดิมของท่านชื่อตัด นามสกุล คำใส เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ปีพ.ศ. ๒๔๗๔ ตรงกับปีมะแม ที่หมู่บ้านเขากระจิว หมู่ ๖ ต.ท่ายาง อ.ท่ายาง บิดาท่านชื่อ ตอย คำใส มารดาชื่อนาง เย็น คำใส ท่านเป็นลูกคนเดียวของพ่อตอย แม่เย็น คำใส เมื่อท่านอายุได้เพียง ๑๐ ขวบ มารดาท่านก็มาเสียชีวิตลงท่านได้ย้ายมาอยู่กับยาย ต่อมาบิดาท่านได้มีภรรยาใหม่และได้กำเนิดบุตรต่างมารดาอีก ๕ คน คือ

        ๑. นางเทื่อน ทหารเพียง
        ๒. นางเลื่อน เจรจา
        ๓. นายเชื่อน คำใส
        ๔. นายวิเชียร คำใส
        ๕. นายชวน คำใส

        เริ่มการศึกษาเบื้องต้นของท่านนั้น ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดเขากระจิว จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ อันเป็นชั้นสูงสุดของชนบทสมัยนั้น ต่อจากนั้นท่านก็ได้ออกมาช่วยเหลือบิดา มารดา ทำไร่ ทำนาตามประสาชนบทชาวบ้านนา เมื่อท่านอายุ ๒๑ ปี ครบเกณฑ์ทหาร ท่านเข้ารับการตรวจเลือกแต่จับได้ใบดำไม่ต้องเป็นทหาร ท่านจึงได้ตัดสินใจได้บวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ยายและมารดาของท่าน

        หลวงพ่อตัดท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๔ โดยมี
        - พระครูมหาสมณวงศ์(เล็ก) วัดเขาวัง เป็นพระอุปัชฌาย์
        - พระสมุห์ ล้อม วัดเขาวัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
        - พระอธิการ ทอง วัดเขากระจิว เป็นพระอนุสาวนาจารย์



        
        พระพุทธวิริยากร ( หลวงพ่อตัด ปวโร ) วัดชายนา จ.เพชรบุรี
        พระพุทธวิริยากร (หลวงพ่อตัด ปวโร) วัดชายนา จังหวัดเพชรบุรี ในวัยหนุ่ม
        
        ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า พระภิกษุตัด ปวโร และท่านได้จำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อทองที่วัดเขากระจิว และศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ,พระธรรมวินัย , และทาง วิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงพ่อทอง พระอาจารย์ของท่านจนถึงปี ๒๕๐๓ ท่านก็สอบได้นักธรรมเอก และต่อมาได้มีชาวบ้านจากหมู่บ้านในดง ซึ่งแต่เดิมขึ้นตรงกับตำบลบางปลาเค้า ได้เดินทางมาหา นิมนต์พระไปสร้างวัดและอยู่จำพรรษา ณ ที่ว่างเปล่า ซึ่งเดิมคือป่าช้าเก่าของหมู่บ้านในดง เพราะการเดินทางไปวัดทำบุญ, ฟังเทศน์, ฟังธรรม ของชาวบ้านในดงสมัยนั้นลำบากมากถนนหนทางไม่มีอย่างที่เป็นหรอกครับ ต้องเดินตามทางเกวียน ทางลูกรังซึ่งเป็นหลุมเป็นบ่อ วัดที่ใกล้ที่สุดคือวัดเขากระจิว แต่ก็ยังลำบากต่อการเดินทางอยู่ดี

        เมื่อมีชาวบ้านมานิมนต์ หลวงพ่อทอง ก็เรียกประชุมพระลูกวัดรวมทั้งหลวงพ่อตัดด้วย เพื่อถามความสมัครใจ แต่ก็ไม่มีผู้ใดออกไปอยู่ เพราะเป็นถิ่นกันดาร ห่างไกลความเจริญสู้วัดเขากระจิวไม่ได้เพราะใกล้ อ.ท่ายาง เมื่อเป็นเช่นนั้น หลวงพ่อตัด ท่านก็เลยรับนิมนต์เอง

        ในปี พ.ศ.
        ๒๕๐๕ หลวงพ่อตัด และพระสงฆ์อีก ๔ รูป ก็ได้มาจำพรรษา ณ ป่าช้าบ้านในดงเป็นพรรษาแรก พร้อมทั้งปลูกโรงมุงคาบ้าง สังกะสีบ้าง และแต่ใครถวายอะไรมาเพื่อเป็นกุฎิจำพรรษา ครั้งเมื่อท่านมาอยู่ใหม่ๆนั้น อุปสรรคในการสร้างวัดชายนาของนั้นมีมากมายนัก แต่ท่านก็สามารถฝ่าฟันมาได้ ด้วยเพราะท่านมีความอดทน ความเพียรพยายาม และด้วยบุญบารมีที่ท่านได้สร้างสมมา จึงบังเกิดเป็นวัดชายนาที่เจริญรุ่งเรืองเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา อย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้

        วัตรปฏิบัติ และปฏิปทาของหลวงพ่อตัด
        หลวงพ่อตัดนั้นท่านเคร่งครัดในพระธรรมวินัย และมีเมตตาสูง ไม่ยึดติดกับลาภสักการะไม่สะสม ความเมตตาของหลวงพ่อตัดนั้นไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เด็กหรือผู้ใหญ่ คนรวยคนจน ท่านเมตตาเสมอภาคกันหมด สังเกตได้ตอนท่านมีชีวิตอยู่ เมื่อมีญาติโยมนำของกินของใช้มาถวายท่าน ท่านก็จะเดินแจกเณรและศิษย์วัดโดยเสมอภาคกัน กับการไม่ยึดติดและสะสมนั้น ถ้าท่านเคยเข้าไปในกุฎิของหลวงพ่อ ท่านก็จะเห็นที่นอนจำวัดของหลวงพ่อว่า มีแค่เพียงจีวรหมอน และพื้นที่แค่เพียงซุกตัวนอนได้ท่ามกลางกระป๋อง และลังที่ใส่วัตถุมงคลที่พร้อมปลุกเสกเมื่อยามท่านตื่นจากจำวัดในยามดึกสงัด (หลวงพ่อชอบปลุกเสกตอนดึกๆ เงียบๆ สงบ) กับการปฏิบัติอย่างสมถะเรียบง่ายของท่าน จึงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุสามเณรภายใต้การปกครองของท่านว่า เมื่อมาบวชแล้วควรปฏิบัติตนให้สมกับสมณะเพศ ในกุฏิของท่านนั้นไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกความสบาย เช่น แอร์ ทีวี เครื่องเสียง ส่วนตู้เย็นนั้นมามีเมื่อปี ๒๕๕๑ ที่มีได้ก็เพราะมีผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย สำหรับแช่เครื่องดื่ม เพื่อรับญาติโยมที่มากราบหลวงพ่อและและทำบุญภายในวัด และที่เป็นเครื่องยืนยันอีก คือเมื่อครั้งเปิดห้องหลวงพ่อหลังจากงานศพท่านลุล่วงแล้ว เพื่อสำรวจทรัพย์สินของมีค่าของท่าน ปรากฏว่าภายในกุฎิของท่าน นอกจากวัตถุมงคลของทางวัดแล้ว ก็มีเพียงสมุดบัญชีธนาคารที่มีเงินฝากสะสมเพียง ๔๐,๐๐๐ บาท เท่านั้นที่เป็นของท่าน ซึ่งก็เป็นเงินเดือนประจำตำแหน่งเจ้าอาวาสของท่านเอง

        ผลงานด้านพัฒนา และการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ช่วยเหลือสังคม
        ดังที่กล่าวมาแล้วว่า หลวงพ่อตัดนั้น ท่านเป็นผู้มีเมตตาสูง และไม่ยึดติดกับลาภสักการะ ปัจจัยที่ได้มาจากการทำบุญ กฐิน ผ้าป่า วัตถุมงคล หรือจากญาติโยม ผู้มีจิตศรัทธา ท่านจะนำไปสร้างถาวรวัตถุเสนาสนะภายในวัด เช่น สร้างโบสถ์ สร้างกุฎิสงฆ์ สร้างหอฉัน สร้างศาลาเอนกประสงค์ สร้างเมรุ สร้างโรงอาหาร และอื่นๆอีกมากมาย ภายในวัด และไม่เพียงแต่ในวัดชายนาของท่านเท่านั้น ท่านยังบริจาคทรัพย์เพื่อสังคมและชุมชน อันมีโรงเรียน หมู่บ้าน วัดทั่วไป หรือแม้กระทั่งหน่วยงานของราชการ สถานพยาบาล ถ้ามีผู้มาร้องขอท่าน ถ้าท่านมีท่านไม่เคยขัดให้ได้ตามความเหมาะสม ดังเช่น บูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดเขากระจิว บริจาคปัจจัยสร้างโบสถ์และกุฎิสงฆ์ วัดหนองหงส์พัฒนา อ.ชะอำ ร่วมสร้างก่อตั้งมูลนิธิคณะสงฆ์ธรรมยุติเพชรบุรี ณ วัดสนามพราหมณ์ และยังมีอีกหลายวัดที่ท่านร่วมสร้างบริจาคปัจจัยเพื่อการนั้นๆ จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี

        ทางด้านเพื่อสังคมและส่วนรวมนั้นมีคร่าวๆดังนี้
        - มอบที่ดินให้ราชการเพื่อสร้าง สถานีอนามัยบ้านในดงและสร้าง อ.บ.ต. บ้านในดง ศูนย์เด็กเล็กบ้านในดง
        - สร้างศาลาเอนกประสงค์และเครื่องมือทันตแพทย์มอบให้อนามัยบ้านในดง
        - ตั้งกองทุนเพื่อสวัสดิการข้าราชการตำรวจ ส.ภ.อ.ท่ายางและซื้อรถกระบะมอบให้เพื่อใช้ในราชการตำรวจภูธรท่ายาง
        - สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมต่อจากถนนสายเพชรเกษม-หนองจอก จนถึงคันคลองส่งน้ำสาย ๒
        - ซื้อที่ดินและสร้างศาลาเอนกประสงค์ ให้กับชาวบ้านหมู่ ๖ กระจิว
        - ร่วมกับพระครูสารธรรมนิเทศ ถมดินเพื่อสร้างสนามกีฬาให้กับโรงเรียนบ้านในดง และร่วมสมทบทุนเข้ามูลนิธิสารธรรมนิเทศ เพื่อเป็นทุนการศึกษาของเด็กนักเรียน โรงเรียนบ้านในดง
        -จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์การเรียนการสอบเพื่อมอบให้กับโรงเรียนบ้างทุ่งขาม อ.ชะอำ

        นี้เป็นเพียงแค่คร่าวๆ เท่าที่จำและสอบถามมา ยังไม่รวมเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้นว่า บริจาคปัจจัย ไม้กระดาน เสา อิฐ หิน ปูน ทราย เพื่อสร้างหรือซ่อมแซม ศาลาหรือสาธารณะประโยชน์ทั่วไปของตำบลบ้านในดง มีท่านผู้รู้ หรือศิษย์ใกล้ชิดหลวงพ่อ ได้ประมาณการแบบคร่าวๆ ถึงยอดเงินบริจาคเพื่อการพระพุทธศาสนา เพื่อการสาธารณะประโยชน์ เพื่อการช่วยเหลือ และการพัฒนาชุมชน และส่วนร่วม เป็นยอดเงินไม่ต่ำกว่า ๓๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นจำนวนไม่น้อยเลยกับพระเกจิอาจารย์บ้านนอกธรรมดา ที่ไม่ธรรมดาองค์หนึ่ง

        การเลื่อนสมณศักดิ์
        ด้วยคุณงานความดี และวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดในพระธรรมวินัย อีกทั้งผลงานด้านพัฒนาและการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบสานสร้างสรรค์ แต่สิ่งดีงานมีคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม และยอมถวายชีวิตเพื่อจรรโลง และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายภาคหน้า ด้วยความดีดังกล่าวจึงทำให้ท่านเจริญด้วยสมณศักดิ์ ดังนี้
        - พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดชายนาอย่างเป็นทางการโดย เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติ
        - ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูบวรกิจโกศล
        - พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ โดยเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติ
        - เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์พัดยศในพระราชทินนามเดิม
        - และวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์พัดยศเทียบเท่าเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ
        - วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ในพระราชินนามว่า “พระพุทธวิริยากร” อันเป็นสมณศักดิ์ครั้งสุดท้าย ของท่าน...


        การศึกษาพุทธาคม หลวงพ่อตัด
        เกี่ยวกับเรื่อง วิชาอาคม เครื่องรางของขลังนั้น หลวงพ่อท่านสนใจและเสาะแสวงหา ศึกษาตั้งแต่ครั้งยังเป็นหนุ่มๆ ใครว่าที่ไหนมีวิชาดี มีอาจารย์เก่ง ท่านดั้นด้นไปขอเรียนมาหมด ตำราวิชาอาคมของเก่าในเพชรบุรีที่ตกทอดมาเป็นสาย ท่านก็เรียนมาจดหมดสิ้น ต่อไปนี้เป็นลำดับอาจารย์ที่ท่านไปขอเรียนมา และก็ใช้วิชาของพระอาจารย์เหล่านี้สร้างวัตถุมงคล เครื่องรางของขลังจนโด่งดังเป็นที่รู้จักมีลูกศิษย์ลูกหา และผู้เลื่อมใสศรัทธาทั่วประเทศ
        - เรียนวิชาการทำตะกรุด จากหลวงพ่อทอง วัดเขากระจิว ซึ่งหลวงพ่อทอง ท่านสืบทอดวิชามาจากหลวงพ่อกริช และหลวงพ่อกริชท่านสืบทอดมาจากหลวงพ่อกุน แห่งวัดพระนอน หลวงพ่อกุนองค์นี้แหละคือผู้สร้างตะกรุดตำนานไมยราพสะกดทัพ อันลือลั่นโด่งดัง เป็นที่ต้องการของผู้รักและนิยมเครื่องรางของเมืองไทย และถือเป็นเครื่องรางหายากที่สุดของจังหวัดเพชรบุรี นอกจากวิชาทำตะกรุดแล้วท่านยังได้ศึกษาตำราเก่า ซึ่งรวบรวมวิชาอาคมต่างๆของสำนักเขากระจิวด้วย อันเป็นตำราเก่าของหลวงพ่อกริช ตกทอดกันมา
        - เรียนวิชาลงและเสกปลัดขิกจาก หลวงพ่อชุ่ม วัดกุฎิบางเค็ม อ.เขาย้อย โดย หลวงพ่อชุ่มท่านทดสอบให้หลวงพ่อตัดเห็นกับตา ท่านจึงตามไปขอเรียนจนสำเร็จ และก็ทำได้ขลังยิ่งนัก โดยมีเคล็ดลับต้องใช้ไม้ผูกคอตายจะดียิ่ง หรือไม้มงคลต่างๆ เช่น กาฝากรัก มะยมตายพราย ขนุนตายพราย กาฝากมะรุม แต่จะให้ดีเยี่ยมต้องไม้ผูกคอตายครับ ด้วยวิชาปลัดขิกนี้ที่เป็นจุดเริ่มต้น ที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่าน ท่านได้เมตตาแจกให้ญาติโยมไปบูชา เมื่อญาติโยมได้ไป ก็เกิดประสบการณ์มากมายทั้งเรื่องค้าขายดีมีเงินใช้คุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย ก็จะกลับมาช่วยกันทำบุญสร้างและวัดชายนาจนท่านสร้างโบสถ์สำเร็จ รวมทั้งเสนาสนะกับหลวงพ่อกระทั่งวัดเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา
        - และแล้วต่อมาเมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๕๓๔ กรมศาสนาสั่งห้ามพระเณรในวัดทำปลัดขิก ท่านก็เลยหยุดทำ แต่ถ้าญาติโยมทำมาขอให้ท่านเสก ท่านก็เสกให้ครับ
        - เรียนวิชามนต์จินดามณี หรือมนต์พระสังข์เรียกเนื้อเรียกปลา และวิชาการทำพระขรรค์ ได้รับการถ่ายทอดจากโยมพุฒ เป็นอาจารย์ฆราวาส บ้านอยู่เขต อ.ชะอำ วิชามนต์จินดามณีวิชานี้เด่นทางเรียกคน เรียกทรัพย์ วิชานี้เป็นวิชาอาถรรพ์ สืบทอดกันได้แค่คนต่อคนเท่านั้น
        - คือเมื่อเจ้าของเดิมเลือกที่จะถ่ายทอดให้ใครไปแล้ว ก็ต้องเสียชีวิตลงภายในเวลาไม่นานนัก และโยมพุฒ ก็เสียชีวิตลงภายใน ๓ วัน หลังจากมอบให้กับหลวงพ่อตัด
        - เรียนวิชานางโลม กับอาจารย์พงษ์ เป็นอาจารย์ฆราวาสที่มีชื่อเสียงทางด้านการสักยันต์ บ้านอยู่ที่ ต.หนองจอก วิชานางโลมของอ.พงษ์นี้เป็นสรรพวิชาที่รวมเอาทั้งคงกระพัน มหาอำนาจ แคล้วคลาด และเมตตาอยู่ในหนึ่งเดียว ซึ่งอาจารย์พงษ์ หวงวิชานี้มากแต่ถ่ายทอดให้กับหลวงพ่อตัดมา
        - เรียนวิชาขุนแผนชมตลาด จากอาจารย์วัน เป็นฆราวาส บ้านอยู่อำเภอ.ปราณบุรี วิชานี้เด่นทางเมตตา ค้าขาย และเมตตาต่อเพศตรงข้าม และหลวงพ่อตัดท่านได้ใช้วิชานี้ มาสร้างและปลุกเสกพระขุนแผนของท่านด้วย
        - เรียนวิชาแก้และกันคุณไสย ลมพัดลมเพ จากหมดพรหม เป็นอาจารย์ฆราวาส บ้านอยู่ที่หมู่บ้านเขากระจิว
        - เรียนวิชานะมหาอ่อนใจ และวิชาทำสีผึ้งเมตตาค้าขาย จากโยมมอณ เป็นอาจารย์ฆราวาสและท่านเป็นอาจารย์หญิงท่านเดียว ที่หลวงพ่อตัดไปขอเรียนวิชาด้วย ซึ่งวิชานี้หลวงพ่อตัด ท่านใช้สร้างและปลุกเสกสีผึ้งเมตตาค้าขายของท่าน

        อันวิชาที่ท่านเรียนมานี้ ยังมีอีกมากที่เราท่านไม่ทราบว่าเรียนมาจากที่ใด อาจารย์องค์ไหน และรวมไปถึงการไปขอต่อวิชาเพิ่มเติมกับอาจารย์องค์อื่นๆ รู้ก็แต่เพียงว่าท่านเคยไปขอต่อวิชากับหลวงพ่อเทพ วัดถ้ำรงค์ หลวงพ่อบุศย์ วัดพรหมวิหาร นอกจากนั้นก็ไม่มีใครทราบว่าเรียนอะไรที่ไหนมาอีก แต่คิดว่ามีแน่ เพราะหลวงพ่อท่านชอบศึกษาเรียนรู้ในทางนี้มาก ตำรับตำราเก่าๆสายเพชรบุรีทั้งหลวงพ่อกุนวัดพระนอน หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวงและอื่นๆท่านก็ศึกษามาหมดแต่ท่านไม่ชอบพูดคุยหรือโอ้อวดให้ใครฟัง ทำให้เรารู้แต่เพียงคร่าวๆ เท่านี้

        บทสรุป

        ตลอดเวลา ๕๗
        พรรษา ในเพศบรรพชิตของหลวงพ่อตัด วัตรปฏิบัติของท่านนั้นเรียบง่าย สมถะ แต่จริงจัง ยึดถือความถูกต้องเป็นที่ตั้งให้ความเสมอภาคกับศิษย์ทุกคน ไม่เลือกจนรวย เป็นต้นว่า ถ้าท่านรับนิมนต์ญาติโยมท่านใดแล้ว เมื่อมีคนมานิมนต์ท่านไปอีกงานหนึ่งซึ่งเป็นงานคนรวย ท่านไม่มีทางรับไปหรอกครับ และไม่มีใครเหมือนคือ ท่านจะล่วงหน้าไปก่อนพระลูกวัด เพื่อที่จะได้พูดคุยกับญาติโยมแบบเป็นกันเองและสนุกสนาน หลวงพ่อท่านพูดเสียงดัง ตรงไปตรงมา แลดูเหมือนท่านดุ แต่จริงๆท่านเป็นพระที่มีเมตตามากยืนยันได้จาก
        คำพูดที่ท่านพูดบ่อยๆคือ คนขอคนอยากได้ คนไม่ให้คนหน้าด้าน ส่วนที่ท่านพูดจาโผงผาง เอ็ดตะโรดุด่าลูกศิษย์นั้น เป็นการทดสอบจิตใจและศรัทธาของศิษยานุศิษย์มากกว่า ท่านมีกิจวัตรประจำของท่านอีกอย่างหนึ่งคือ ตอนเช้ามืดและตอนบ่าย ท่านจะต้องเดินสำรวจบริเวณวัดโดยรอบและไม่เดินตัวเปล่า ท่านต้องมีกระป๋องติดมือไปด้วยเพื่อเก็บขยะ ท่านจะเก็บทุกอย่าง ถุงพลาสติก ขวดน้ำ กระดาษ หรือแม้แต่ก้นบุหรี่ที่มีคนทิ้งไว้ไม่เลือกที่ ท่านปฏิบัติแบบนี้มาโดยตลอด จนเป็นภาพชินตาของญาติโยมที่ไปที่วัดตลอดมา และด้วยสังขารที่ตรากตรำทำงานหนักมาตลอดชีวิตของท่าน รวมทั้งโรคประจำตัวที่ท่านเป็นมานาน คือ เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคปอด ปลายปี ๒๕๕๑ ท่านอาพาตลงอย่างกะทันหัน ขณะฉันภัตราหารเช้า ศิษย์พาท่านส่งโรงพยาบาล หมอวินิจฉัยว่าเส้นเลือดในสมองแตก และมีอาการของอัมพฤกษ์ เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล พญาไท ๒ กรุงเทพฯ เป็นเวลา ๘ วัน เมื่อมีอาการดีขึ้นจนเกือบจะปกติดีแล้วท่านก็กลับมารักษาตัวที่วัด แม้ท่านยังไม่หายดีก็ตามท่านก็ยังคงทำวัตรปฏิบัติเรื่อยมา ทั้งเริ่มงานก่อสร้างเจดีย์ งานต่างๆภายในวัด และวันที่ ๒ พฤษภาคม ท่านได้เดินทางไปวางศิลาฤกษ์ พระอุโบสถ วัดหนองหงส์พัฒนา ซึ่งเป็นวัดที่ท่านอุปถัมภ์

        ในวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒
        หลวงพ่อตื่นจากจำวัดตอนเช้าตรู่ คว้ากระป๋องออกสำรวจวัดและเก็บขยะอันเป็นกิจวัตรประจำวันของท่าน เมื่อเสร็จกิจวัตรก็กลับเข้ากุฏิล้างมือ เป็นเวลาประมาณ ๐๗.๐๐ นาฬิกาเศษ อาการโรคหัวใจของหลวงพ่อก็กำเริบ ทำให้ท่านเกิดอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน กรรมการและศิษย์ที่อยู่ในเหตุการณ์ ได้เริ่มพาท่านส่งโรงพยาบาลท่ายาง แต่ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ทัน หลวงพ่อท่านได้ละสังขารลงอย่างสงบเมื่อเวลาประมาณ๐๘.๐๐ น. ของวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ในวัย ๗๗ ปี ๑๑ เดือนกับ ๓ วันพรรษา ๕๘ พรรษา ยังความโศกเศร้าเสียใจแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ และญาติโยมทุกคน คณะกรรมการได้ประชุมการจัดงานศพของหลวงพ่อ โดยปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงพ่อ ที่ท่านได้เขียนสั่งเสียไว้เมื่อปี ๒๕๔๑ ว่า ศพของเรา ห้ามฎีกา ออกหาทุน เกณฑ์ชาวบ้าน มาร่วมหุ้น ให้วุ่นวาย มีเท่าไร ทำเท่านั้น ตามสบาย ไม่มีข้อ ควรละลาย อย่างไรเลย หลวงพ่อสั่งให้สวดเพียง ๗ วัน และเผาเลย โดยให้เผาบนเชิงตะกอนกลางแจ้ง แบบโบราญ ห้ามเก็บศพท่านไว้โดยเด็ดขาด

        ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒
        ซึ่งเป็นวันฌาปนกิจประชุมเพลิงสังขาร หลวงพ่อตัด ณ บริเวณวัด โคนต้นไม้ บนศาลา เต็มไปด้วยศิษยานุศิษย์ และญาติโยมผู้เลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงพ่อ ที่มาจากทั่วประเทศประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน และเริ่มทำพิธีเผาเมื่อเวลา ๒๑.๐๐ น. คณะศิษย์ก็ยังเฝ้ารอจวบจนพิธีกรรมเสร็จสิ้นจึงทยอยกลับ

        หลวงพ่อตัด
        จากพวกเราไปแล้วสู่ซึ่งภพภูมิที่สูงส่ง คงเหลือไว้ซึ่งคุณงามความดี ให้ศิษย์ได้จดจำเอาไว้เป็นแบบอย่าง และปฏิบัติตามควบคู่กับการประกอบสัมมาอาชีพ เพื่อเป็นความมงคลแก่ชีวิตต่อไป

        ขอบุญบารมีของหลวงพ่อตัดที่ได้สร้างสมมา จงบันดาลให้ศิษยานุศิษย์ผู้เลื่อมใสศรัทธา
        ในองค์หลวงพ่อจงพบกับความสุข ความเจริญ ความก้าวหน้า ความสมหวังในชีวิต และหน้าที่การงานด้วยเทอญ

        ประวัติวัดชายนา

        
        วัดชายนา
        รูปวัดชายนา

        ประวัติวัดชายนา


        วัดชายนา ตั้งอยู่ เลขที่ ๖๒ หมู่ ๒ ต.บ้านในดง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี มีเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๘๐ ตารางวาสังกัดวัดธรรมยุติกนิกาย

        - ทิศตะวันออกติดกับ สถานีอนามัย องค์การบริหารส่วนตำบล
        - ทิศตะวันตกติดกับ ที่ดินของนายเอื่อม พูลสวัสดิ์
        - ทิศเหนือซึ่งเป็นด้านทางเข้าติดกับถนนลาดยางสายเพชรเกษม- หนองจอก
        - ทิศใต้ติดกับที่ดินของนายปัญญา ขวัญเมือง

        เริ่มบุกเบิกก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕
        วางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙
        ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓
        ผูกพันธสีมา เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕

        พื้นที่ก่อตั้ง วัดชายนา

        ชาวบ้านจากหมู่บ้านในดง ซึ่งแต่เดิมขึ้นตรงกับตำบลบางปลาเค้า ได้เดินทางมาหา นิมนต์พระไปสร้างวัดและอยู่จำพรรษา ณ ที่ว่างเปล่า ซึ่งเดิมคือป่าช้าเก่าของหมู่บ้านในดง ได้รับการบุกเบิกหักร้างถางพง โดยหลวงพ่อตัด ปวโร พร้อมด้วยชาวบ้าน ต.บ้านในดง และญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ พื้นที่แปลงนี้อยู่ในความดูแลของอดีตกำนัน คำ ทองทา ถวายไว้เพื่อให้สร้างวัด  เพราะการเดินทางไปวัดทำบุญ, ฟังเทศน์, ฟังธรรม ของชาวบ้านในดงสมัยนั้นลำบากมากถนนหนทางไม่มีอย่างที่เป็นหรอกครับ ต้องเดินตามทางเกวียน ทางลูกรังซึ่งเป็นหลุมเป็นบ่อ วัดที่ใกล้ที่สุดคือวัดเขากระจิว แต่ก็ยังลำบากต่อการเดินทางอยู่ดี เมื่อ มีชาวบ้านมานิมนต์ หลวงพ่อทอง ก็เรียกประชุมพระลูกวัดรวมทั้งหลวงพ่อตัดด้วย เพื่อถามความสมัครใจ แต่ก็ไม่มีผู้ใดออกไปอยู่ เพราะเป็นถิ่นกันดาร ห่างไกลความเจริญสู้วัดเขากระจิวไม่ได้เพราะใกล้ อ.ท่ายาง เมื่อเป็นเช่นนั้น หลวงพ่อตัด ท่านก็เลยรับนิมนต์เอง

        ในปี พ.ศ.  ๒๕๐๕ หลวงพ่อตัด และพระสงฆ์อีก ๔ รูป ก็ได้มาจำพรรษา ณ ป่าช้าบ้านในดงเป็นพรรษาแรก พร้อมทั้งปลูกโรงมุงคาบ้าง สังกะสีบ้าง และแต่ใครถวายอะไรมาเพื่อเป็นกุฎิจำพรรษา ครั้งเมื่อท่านมาอยู่ใหม่ๆนั้น อุปสรรคในการสร้างวัดชายนาของ นั้นมีมากมายนัก แต่ท่านก็สามารถฝ่าฟันมาได้ ด้วยเพราะท่านมีความอดทน ความเพียรพยายาม และด้วยบุญบารมีที่ท่านได้สร้างสมมา จึงบังเกิดเป็นวัดชายนาที่เจริญรุ่งเรืองเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา อย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้

        ลำดับเจ้าอาวาสวัดชายนา
        อันดับที่ ๑    พระพุทธวิริยากร ( หลวงพ่อตัด ปวโร ) ตั้งแต่  ๒๕๐๕ - ๒๕๕๒
        อันดับที่ ๒   พระครูสารธรรมนิเทศ ( พระอาจารย์ทิน วรจตฺโต ) ตั้งแต่ ๒๕๕๓  -  ปัจจุบัน